งานวิจัย

การศึกษาการออกแบบเว็บเพจของโรงเรียนในโครงการ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เพื่อโรงเรียนไทย


บทคัดย่อ

กิตติกรรมประกาศ

บทที่1

บทที่ 2

ความหมายและความ
เป็นมาของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตกับการ
ศึกษา

เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เพื่อโรงเรียนไทย

เว็บไซต์ โฮมเพจ และเว็บเพจ
การนำเสนอด้วยเว็บ
การออกแบบเว็บเพจ

บทที่ 3

บทที่ 4

บทที่ 5

ภาคผนวก


ผมประยุกต์แบบ
สอบถามผ่านเว็บ
จากเว็บนี้ครับ

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาการออกแบบเว็บเพจของโรงเรียนในโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียน ไทย
ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเด็นดังต่อไปนี้

          1. ความหมายและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

          2. อินเทอร์เน็ตกับการศึกษา

          3. เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย

          4. เว็บไซต์ โฮมเพจ และเว็บเพจ

          5. การนำเสนอด้วยเว็บ

          6. การออกแบบเว็บเพจ

ความหมายและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

คำว่าอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นคำย่อของ Internetwork หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุด
ในโลก โดยเชื่อมโยงเครือข่ายย่อยจำนวนมากมายมหาศาล นับตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งาน
ภายในบ้านและสำนักงานไปจนถึงคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่แบบเมนเฟรมในโรงงานอุตสาหกรรมและอินเทอร์-
เน็ตสามารถทำให้คนเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของโลก

 แต่เดิมนั้นอินเทอร์เน็ต  เป็นเครือข่ายที่ใช้ในกิจการทางทหาร ของสหรัฐอเมริกาชื่อ อาร์พาเน็ต
(
ARPANET : Advanced Research Projects Agency Network)   ซึ่งเริ่มใช้ในกิจการเมื่อประมาณ
พ.ศ. 2512 คือ 28 ปีมาแล้ว ภายหลังมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งขอร่วมเครือข่าย โดยเชื่อมต่อระบบ
คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยกับเครือข่ายดังกล่าว เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาและการวิจัย  ต่อมาเมื่อมี
การใช้เทคนิคการสื่อสารโต้ตอบที่เรียกว่าโพรโทคอล (
protocol) แบบเฉพาะของอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า
Transmission Control Protocol
/ Internet  Protocol (TCP/IP) เครือข่ายนี้จึงได้รับความนิยมต่อเนื่อง
และมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงมากขึ้นจนกระทั่งกลายเป็นเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 ประเทศไทยเริ่มสนใจและติดต่อกับอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่ พ.ศ.2530 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
(วิทยาเขตหาดใหญ่)  และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ซึ่งในปี พ.ศ.2531 วิทยาเขต ดังกล่าวนับเป็น
ที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่ (
Address) ชื่อ sritrang.psu.th

พ.ศ. 2534  เป็นปีที่มีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามาอยู่ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์แบบ   โดยจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ได้เช่าสายเป็นสายความเร็วสูงต่อเชื่อมกับเครือข่าย
UUNET ของบริษัทเอกชนที่รัฐเวอร์จิเนีย 
ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า 
และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ได้ขอเชื่อมต่อผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และเรียกเครือข่ายนี้ว่า
ไทยเน็ต” (THAInet) นับเป็นเกตเวย์ (Gateway) แรกสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสากลของประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2535  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC: National 
Electronic and Computer Technology Centre)
ได้จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายประกอบด้วยมหาวิทยาลัย
อีกหลายแห่ง  เรียกว่า เครือข่าย
ไทยสาร ต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNETด้วยนับเป็นเกตเวย์สู่เครือข่าย
อินเทอร์เน็ตแห่งที่สอง (อธิปัตย์  คลี่สุนทร
, 2542)

ประโยชน์โดยทั่วไปของอินเทอร์เน็ต

อธิปัตย์  คลี่สุนทร (2542) ได้กล่าวถึงประโยชน์โดยทั่วไปของอินเทอร์เน็ตว่าอินเทอร์เน็ตเป็นระบบ
เครือข่ายเปิดและสามารถติดต่อเชื่อมโยงตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นเราจึงสามารถเข้าถึงข้อมูล ซึ่งประกอบ
ด้วยข้อความ  ภาพ  และเสียง ที่มีผู้นำเสนอไว้ได้โดยผ่านรูปแบบและเนื้อหาที่แตกต่างกัน นอกจากนั้น
ยังสามารถเป็นที่สื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ แนวคิดที่หลากหลาย อาทิ  ด้านการเมือง 
การอุตสาหกรรม การแพทย์  ศาสนา  สิ่งแวดล้อม  ดนตรี  กีฬา  การค้า  การท่องเที่ยว  วัฒนธรรม  เป็นต้น 
ซึ่งนอกจากจะรวดเร็วแล้วยังประหยัดค่าใช้อีกด้วย

บริการบนอินเทอร์เน็ต

บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตมีหลายลักษณะ ซึ่งข้อมูลทุกด้านจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีสมาชิกส่วนหนึ่งได้
จัดเสนอข้อมูลของตนเองเพื่อไว้ใช้หรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้สนใจอื่นๆ ตลอดเวลา  ซึ่งประโยชน์โดย
ทั่วไปของอินเทอร์เน็ตมีหลายด้าน ดังนี้

1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail : electronics  mail) เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้บริการสามารถส่งจดหมาย
ถึงบุคคล องค์กร สถาบัน ฯลฯ โดยผู้รับจะได้รับผ่านจอคอมพิวเตอร์  หรือให้พิมพ์เป็นเอกสารได้ทันที หากผู้รับ
ไม่อยู่ที่จอคอมพิวเตอร์   จดหมายนี้ก็จะถูกส่งไว้ในตู้    คือในหน่วยความจำที่เสมือนเป็นตู้รับจดหมาย
ในคอมพิวเตอร์   ซึ่งผู้รับจะรับเวลาใดก็ได้  และจะโต้ตอบส่งกลับเวลาใดก็ได้เช่นกัน

2.  การทำงานข้ามเครื่อง (TelNet)  ผู้ใช้บริการหากมีระบบเครื่องที่ทำงานได้ไม่สะดวก ก็สามารถ
เปลี่ยนไปทำงานในเครื่องอื่นที่มีสมรรถนะสูงกว่า   เพื่อเข้าไปใช้ข้อมูลเนื้อที่บนฮาร์ดดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล
หรือบริการอื่นใดก็ได้   โดยมีข้อแม้ว่าผู้ใช้บริการต้องมีชื่ออยู่ในสารระบบที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้

3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือ
โปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจากเครื่องอื่นมาเก็บไว้ยังเครื่องของตน โดยเฉพาะโปรแกรมที่บางคนพัฒนา
ขึ้นและต้องการบริจาคให้ส่วนรวมได้ใช้โดยไม่คิดมูลค่า   โปรแกรมลักษณะนี้เรียกว่า
Shareware โดยบางโปรแกรมก็อาจจะให้ลองใช้เป็นการชั่วคราว หากสนใจก็อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายก็อยู่ในลักษณะ
บริการนี้เช่นกัน

4. กลุ่มข่าวที่น่าสนใจ (UseNet) เป็นบริการที่เสมือนเป็นกระดานประกาศขายสินค้า หรือแสดงความ
ต้องการเพื่อให้ผู้สนใจตรงกัน หรือคล้ายๆ กัน  ได้ส่งข่าวติดต่อกันข่าวที่นำมาเสนอไว้อาจจะเกี่ยวกับ
สังคม  กีฬา  ศาสนา  วัฒนธรรม  เทคโนโลยี   ปรัชญา   ฯลฯ เป็นต้น โดยที่ ท้ายข่าวจะมีที่อยู่ซึ่งผู้สนใจ
สามารถติดต่อถึงกันได้

5. การสนทนาบนเครือข่าย (Talk) บริการนี้จะแตกต่างจากจดหมายซึ่งเขียนไปไว้ที่ตู้ไปรษณีย์ของผู้รับ
คือ ผู้ส่ง ผู้รับโต้ตอบกันทางตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า
IRC (InternetRelay Chat)
ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นให้สามารถพูดโต้ตอบกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้ดังเช่นพูดกันทางโทรศัพท์ 

6. การค้นหาข้อมูลและแฟ้มข้อมูล (Gopher/Archie) เป็นบริการที่เปรียบเสมือนตู้บัตรคำในห้องสมุด
ที่สามารถค้นชื่อผู้แต่ง  ชื่อเรื่อง  ชื่อที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ  ซึ่งจะช่วยให้การค้นต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
มาก ผู้ใช้เพียงเข้าไปค้นเมนู (
Menu) ที่โปรแกรมนี้ทำไว้เมื่อพอใจดูเรื่องใดก็ใช้เมนูนั้นผ่านเข้าไปยังเรื่อง
หรือสิ่งที่ต้องการได้ทันที

7.เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) หรือที่มักเรียกกันว่าเครือข่ายใยแมงมุมเป็นบริการทาง
อินเทอร์เน็ตที่มีผู้คนนิยมใช้กันมาก เพราะนอกจากการค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้แล้ว ยังสามารถ
หา
ความบันเทิงได้หลากหลายรูปแบบบนอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว แฟ้มภาพ
วีดิทัศน์
หรือแม้กระทั่งการดูภาพยนตร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ถนอมพร  ตันพิพัฒน์ (2539) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตในลักษณะคล้ายๆ กัน กล่าวคือ
สามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์หลักๆ 5 ประการ ดังนี้

1. เพื่อการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล และความคิดเห็น โดยการส่งผ่านทางไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า อีเมล ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากอีเมลแล้ว
การสนทนาแบบออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้สามารถโต้ตอบผ่านหน้าจอ เสมือนการคุยโทรศัพท์กันอยู่เพียงแต่ใช้
การพิมพ์ข้อความแทนเสียง ปัจจุบันผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกันและเห็นใบหน้า ท่าทางของคู่สนทนาได้

2. เพื่อการเข้าใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่ต่ออยู่ในเครือข่าย การติดต่อเข้าสู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ
ที่ต่ออยู่ในเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ มาใช้งานได้ การเข้าใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายสามารถทำได้โดยการใช้คำสั่ง
telnet

3. เพื่อการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ผู้ใช้สามารถใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตในการสืบค้นสารสนเทศ ต่างๆ
ในเครือข่ายได้หลายวิธี และวิธีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันคือ บริการที่มีชื่อว่า เว็บซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้
เข้าไปค้นหาข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียงก็ตามโดยข้อมูลใน
เว็บจะอยู่ในรูปของไฮเพอร์มีเดีย (
hypermedia)  กล่าวคือ มีการเชื่อมโยงของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเอาไว้
โดยที่ข้อมูลนั้นไม่จำเป็นต้องมาจากแหล่งเดียวกัน

4. เพื่อการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ใช้สามารถคัดลอกและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรม
ที่ผู้ผลิตอนุญาต มาใช้ตามต้องการ การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลทำได้โดยการใช้คำสั่ง
ftpหรือการใช้การ
โปรแกรมสำเร็จรูปที่ช่วยในการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล เช่น
Overnet, FTP Voyager เป็นต้น

5. เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร ความคิดเห็น คำถาม คำตอบ คำแนะนำ ตลอดจนเรื่องราวความเป็นไป
ต่างๆ ที่ผู้ใช้ต้องการทราบและต้องการเสนอแนะ การรับ-ส่งข่าวสารในลักษณะนี้สามารถทำได้โดยการใช้
บริการทางอินเทอร์เน็ตได้หลายวิธีด้วยกัน

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว กิดานันท์  มลิทอง (2540) ยังได้กล่าวถึงการใช้งานของอินเทอร์เน็ตในลักษณะ
คล้ายคลึงกันและมีเพิ่มเติมบางส่วน เช่น

1.บริการสารสนเทศในวงกว้าง (Wide Area Information Server : WAIS) เนื่องจากฐานข้อมูลที่มี
อยู่บนอินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ไม่สะดวกในการค้นหา จึงต้องมีบริการนี้
ขึ้นมาเพื่อเชื่อมโยง
ศูนย์ข้อมูลที่กระจายอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้การค้นหา
ข้อมูลสะดวกและรวดเร็วขึ้น 

2. การสนทนาในข่ายงาน (Internet Relay Chat : IRC)เป็นการสนทนาผ่านเครือข่ายที่สามารถโต้ตอบ
กันทันทีโดยการพิมพ์ข้อความเสียง โดยอาจสนทนาระหว่างบุคคลหรือจะเป็นกลุ่มก็ได้ 
         

3.สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publisher)  ปัจจุบันหนังสือพิมพ์ วารสาร และนิตยสารหลาย
ประเภท เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด
TIME, ELLE ฯลฯ ได้มีการบรรจุเนื้อหาและภาพที่ลงพิมพ์ในสิ่งพิมพ์
เหล่านี้ลงในเว็บไซต์ของตน เพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้อ่านเรื่องราวเช่นเดียวกับการอ่านหนังสือที่เป็นเล่ม
นอกจากสิ่งพิมพ์แล้ว ยังมีเอกสารและตำราวิชาการที่นำเนื้อหาบรรจุลงในอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ค้นหาความรู้
ได้ด้วย เช่น คู่มือการออกแบบเว็บเพจของมหาวิทยาลัยเยล ในสหรัฐอเมริกา

4. สมุดรายชื่อ เป็นการตรวจหารายชื่อและที่อยู่ของผู้ที่เราต้องการจะติดต่อด้วยในอินเทอร์เน็ต โปรแกรม
ที่นิยมใช้กัน ได้แก่
Finger และ Whois

กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่าบริการพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตนั้นมีดังนี้คือ

          1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics Mail)

          2. การทำงานข้ามเครื่องหรือการขอเข้าเครื่องระยะไกล (Telnet)

          3. เพื่อการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocal)

          4. แลกเปลี่ยนสารสนเทศซึ่งกันและกัน หรือกลุ่มข่าวที่น่าสนใจ (UseNet)

          5. การสนทนาบนเครือข่าย (Talk) และ Interner Relay Chat : IRC

          6. การสืบค้นข้อมูลและไฟล์ข้อมูล (Gopher/Archie) และ Whois

          7. เวิลด์ไวด์เว็บ (Wolrd Wide Web)

          8. สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publisher)

การเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อหรือการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตนั้น จำเป็นต้องมีอุปกรณ์พื้นฐาน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์
โมเด็มและสายโทรศัพท์ รวมทั้งซอฟต์แวร์ที่ใช้ติดต่ออินเทอร์เน็ต

สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นสามารถใช้ได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์
หรือไมโครคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามเครื่องที่ใช้ก็ควรจะมีหน่วยความจำและความเร็วอย่างเหมาะสม
เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 
          

ส่วนโมเด็ม (Modem: Modulator/Demodulator) และสายโทรศัพท์ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้คู่กัน
โดยโมเด็มจะทำหน้าที่แปลงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะลอก จากนั้น
จะส่งผ่านคู่สายโทรศัพท์ไปยังจุดหมาย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง 

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมนุษย์สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการรับส่งข้อมูลโดยอาศัยคลื่นความถี่ต่างๆ
 นอกเหนือจากระบบสายโทรศัพท์ อาทิ ระบบไมโครเวฟ สัญญาณดาวเทียม รวมทั้งเส้นใยนำแสง ทำให้การ
ติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น


ด้วยจิตคารวะ


คำ "ติ-ชม" ของท่านมีค่ามหาศาลต่อการพัฒนาเว็บไซต์ครับ

created by.
กระดานดำออนไลน์
730/4 Tassabarn 7 Rd. Tambol.Ra-ngang
Sikhoraphum District, Surin Province.Thailand 32110

email : jakrapog@hotmail.com 
29 June, 2003