รื่องผู้นำด้านนวกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนี้ ผมได้มาจากเอกสารการสอนชุดวิชา
"เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา" หน่วยที่ ๙-๑๕

และเรื่องนี้อยู่ในหน่วยที่ ๑๔.๕.๓ หน้า ๙๓๐ ผมเห็นว่ามีประโยชน์ต่อผู้ค้นคว้าโดยทั่วไป และสำคัญอย่างยิ่ง
คือ อาจจุดประกายแนวคิดให้กับนักเทคโนโลยีการศึกษาในรุ่นหลัง เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาของชาติ อันจะ
นำไปสู่กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย ให้สมบูรณ์พร้อมสติปัญญาและจริยธรรมต่อไป

โดยจะขอเสนอตามลำดับตามเอกสารนะครับ

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช


พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช :  พระผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย

การประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  นับได้ว่าเป็น
จุดเริ่มต้นของนวกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาที่สำคัญยิ่งของไทย
เพราะหากไม่มีตัวอักษรแล้ว ย่อมยากต่อการถ่ายทอดและสร้างสรรค์
วิทยาการใหม่ๆ

พระราชประวัติ

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นราชโอรสองค์เล็กของพ่อขุนบาง
กลางท่าวหรือพระเจ้าศรีอินทราทิตย์และนางเสือง พระนามเดิมว่ากระไร
ไม่ปรากฏ แต่สมเด็จเจ้าพระยาดำรงค์ฯ ทรงสันนิษฐานว่าคงจะเรียก

"เจ้าราม" เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมีพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา ได้เสด็จตามพระบิดาไปรบกับขุนสามชน
เจ้าเมืองฉอด (อยู่ที่กิ่งแม่ระมาด อำเภอแม่สอนปัจจุบัน) เมื่อพระบิดาเสียทีขุนสามชน พ่อขุนรามได้แก้ไว้
และชนช้างชนะขุนสามชน พระบิดาจึงถวายพระนามว่า "รามคำแหง" จึงทรงสันนิษฐานว่าเดิมคงชื่อ 
"เจ้าราม" แต่ปรากฏในหลักศิลาจารึกแน่นอนว่า พระนามรามคำแหงนั้น เป็นนามที่ได้รับพระราชทานจาก
บิดา เมื่อคราวชนช้างชนะขุนสามชน หาใช่พระนามเดิมไม่ 

พ่อขุนรามคำแหงเป็น "มหาราช" องค์แรกของชาวไทย ในฐานะที่ทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์ ทรงชำนาญทั้ง
การปกครองและการศาสนา ทรงขยายอาณาจักรสุโขทัยออกไปอย่างกว้างขวางด้วยวิเทโสบายอันแยบคาย
และทรงปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขได้รับความยุติธรรมทั่วหน้ากัน

พระราชกรณียกิจทางด้านนวกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 

ได้แก่ การประดิษฐ์อักษรไทย เพราะตัวอักษรเป็นสิ่งสำคัญในการถ่ายทอดและส่งเสริมวิวัฒนาการความรู้
ต่างๆ  หากไม่มีตัวอักษรบันทึกไว้ วิทยาการต่างๆ ย่อมสูญหายได้ง่าย นอกจากนี้ การจัดการศึกษา ณ 
พระแท่นมนังคศิลา ของพระองค์ ยิ่งจัดได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของการศึกษาผู้ใหญ่ของไทยอีกด้วย

จากพระราชกรณียกิจดังกล่าวข้างต้น จึงกล่าวได้ว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นนักนวกรรมและ
เทคโนโลยีการศึกษาที่สำคัญของไทยพระองค์หนึ่ง

ที่มา : เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา "เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา" หน่วยที่ ๙-๑๕
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๖
ปรีชา  พงศ์ภมร, "พระราชประวัติ ๔๕ กษัตริย์ไทย และ พระบรมราชินีทุกรัชกาล" , ๒๕๑๖


ลำดับต่อไปที่จะนำมาเสนอครับ
  • พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ทรงนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง
  • พระมหาธรรมราชาลิไทย ผู้ทรงนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง
  • พระโหราธิบดี ผู้แต่งแบบเรียนเล่มแรกของไทย
  • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้สถาปนาวัดพระเชตุพนเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรก
  • ศาสตราจารย์สำเภา  วรางกูร บิดาแห่งโสตทัศนศึกษาของไทย (ผมเคยได้รับทุนการศึกษาจากกองทุน
    ของท่านด้วย)
  • ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร  ศรีสอ้าน ผู้นำในการสถาปนามหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรก
  • ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์  พรหมวงศ์ ผู้คิดระบบการสอนแบบศูนย์การเรียน ระบบผลิตชุดการสอน
    แผนจุฬา
  • *อาจารย์ธนู  บุญยรัตนพันธุ์ ผู้นำทางนวกรรมพื้นบ้านเพื่อการศึกษา
  • *ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรยุทธ  วิเชียรโชติ ผู้สร้างทฤษฎีการเรียนแบบสืบสวนสอบสวนและทฤษฎี
    การเรียนการสอนแบบอารยวิถี
  • *รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง  กุมุท ผู้สร้างทฤษฎีการสอนจริยธรรมแบบเบญจขันธ์
  • *ผู้ช่วยศาสตราจารย์โช  สาลีฉัน ผู้สร้างสื่อการสอนวิทยาศาสตร์จากวัสดุพื้นบ้าน
  • *อาจารย์พิชิต  สันตภิรมย์ ผู้นำด้านสื่อการสอนระดับอนุบาลและประถมศึกษา

* หมายเหตุ ปัจจุบันตำแหน่งทางวิชาการของแต่ละท่านอาจเปลี่ยนแปลงไป



คำ "ติ-ชม" ของท่านมีค่ามหาศาลต่อการพัฒนาเว็บไซต์ครั

created by.
กระดานดำออนไลน์
775/11 Sukhapibarn 4 Rd. Tambol.Ra-ngang
Sikhoraphum District, Surin Province.Thailand 32110

email : jakrapog@hotmail.com 
24 มิถุนายน, 2544