*** หนึ่ง-โรงเรียน-หนึ่ง-บทเรียน***

...

ช่วงนี้งานของผมคือการพบปะพูดคุยกับชาวบ้านเรื่องชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งไม่เกี่ยวกับโครงการของรัฐ
นะครับเพราะผมไม่ได้ทำงานอยู่ในภาครัฐ แต่ก็เป็นลักษณะช่วยเสริมกัน โดยเป้าหมายของมูลนิธิคือช่วยให้
ชนบทมีความเป็นอยู่อย่างยั่งยืน ก็สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลชุดนี้พอดีครับ

ทำอย่างไรให้ชาวบ้านเปลี่ยนแนวคิดมาเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง ... ดูเหมือนง่าย ... แต่การปฏิบัตินี่ยาก
พอสมควรครับ 

แนวพระราชดำริของในหลวงที่พระราชทานแก่ประชาชนของพระองค์นั้นดีเหลือหลาย คนที่นำไปปฏิบัติ
ทุกวันนี้ก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจริงๆ แต่คนที่ยังไม่เปลี่ยนแนวคิด ส่วนใหญ่ก็ยังมีความเป็นอยู่แบบเดิมๆ
คือกี่ปีๆ ก็ยังคงอยู่อย่างนั้น

คล้ายไม้ใหญ่หยั่งรากฝังลึก ยากจะถอนตัว ... แต่ก็ยังพอมีหนทางครับ

ภาครัฐ ต้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในหลายๆ อย่าง และโครงการหลายๆ อย่างในระยะนี้ดูเหมือน
จะเข้าถึงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ นั่นคือ "คนจน" ไม่ว่าจะเป็น กองทุนหมู่บ้านละ ๑ ล้าน, ๓๐ บาท
รักษาทุกโรค ซึ่งตอนนี้จังหวัดสุรินทร์ก็ได้ดำเนินการแล้ว และที่ผมเอามาเป็นแนวของหัวเรื่องในวันนี้คือ
๑ ตำบล ๑ ผลิตภัณฑ์

"หนึ่ง-โรงเรียน-หนึ่ง-บทเรียน" ก็ได้มาจากไอเดียของรัฐบาล ซึ่งผมก็จับโน้นผสมนี้หน่อยมาโยงเข้ากับ
เรื่องการศึกษา (จนได้) คือ ๑ ตำบล ๑ ผลิตภัณฑ์ บวกกับ โครงการอินเทอร์เน็ตชุมชนและนโยบายให้ทุก
โรงเรียนมีอินเทอร์เน็ต ก็เลยกลายมาเป็นอย่างที่ผมกำลังจะนำเสนอนี่แหละ 

ส่วนโครงการ "ศูนย์มัลติมีเดียแห่งชาติ" ที่ผมเสนอไว้ ก็เก็บเอาไว้ก่อน รอผมเป็น รัด-ถะ-มน-ตี เมื่อไหร่
ผมทำแน่นอนครับ สัญญาๆๆๆๆๆ (เอ!!! เข้าข่าย สัญญาว่าจะให้หรือเปล่าเนี่ย ..ฮา)

ประการสำคัญที่สุดของโครงการ หนึ่ง-โรงเรียน-หนึ่ง-บทเรียน คือ ผู้บริหารโรงเรียนต้องลงมาเล่นด้วยนะ
ครับ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดนี้ หากผู้บริหารไม่เห็นแก่ประโยชน์ของการศึกษาเป็นหลัก มัวแต่ไปเห็นแต่
ประโยชน์จากงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อหวังเปอร์เซ็นต์ มีหวังอีกไม่นานบ้านเมืองล่มจมเป็นแน่

ที่กล่าวไปนั้น ใช่ว่าไม่มีนะครับ มี ... แต่เป็นส่วนน้อยเท่านั้น ทำอย่างไรจะให้พวกนี้หมดไปจากประเทศ
ไทยก็ไม่รู้นะ ... ทุกวันนี้ครูบาอาจารย์ตามโรงเรียนบ้านนอกยังคงร้องเพลงของอัสนี-วสันต์ กันอยู่นะครับ
ฯพณฯ

"ทั้งๆ ที่รู้"

เอาละ ถึงใครจะเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยยังไง ผมจะขอคิด ขอเขียนเอาไว้ก่อนละ อีก ๑๐ ปีจะเกิดผลก็ยังดี
กว่าไม่ได้คิดได้เขียน

เอาโครงการ หนึ่ง-โรงเรียน-หนึ่ง-บทเรียน มาโยงเข้ากับแนวคิดของ Badral H.Kahn (1997) 
ที่เขียนไว้ในหนังสือ Web-Based Instruction และ ผมชอบประโยคที่เขาเขียนไว้ตอนหนึ่งดังนี้นะครับ
(ไม่แปลดีกว่า กลัวแปลผิด ...ฮา)

While growing up in Bangladesh during the 1970s, I used to dream about having
access to well-designed learning resources that were only available to students in
industrialized countries. In the '70s, it was unthinkable that we might have equal 
access to those resources. In the '90s, it has become a reality.

หากใครอ่านจบแล้ว ลองแปลเป็นสำนวนไทยส่งมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันบ้างก็จะเป็นการดีนะครับ ถือว่ามี
ส่วนร่วมด้วยกัน หรือใครที่เคยมีฝันที่เป็นจริงแบบนี้ ลองเล่าสู่กันฟังก็ได้ ... ถ้าใครอ่านกระดานดำออนไลน์
ทุกบทความ ก็จะเห็นว่า มีเด็กไทยคนหนึ่งเคยฝันที่เป็นจริงแบบนี้เหมือนกัน ... อิอิ

ที่นี่ลองมาดูสิว่า โครงการ หนึ่ง-โรงเรียน-หนึ่ง-บทเรียน นั้น ต้องการองค์ประกอบอะไรบ้าง 

Badral H.Kahn เขียนไว้แล้วผมก็เอามาดัดแปลงให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
โรงเรียนในชนบท ... ดังนี้ครับ

องค์ประกอบของ Web-Based Instruction : WBI

บุคลากร

การพัฒนาเนื้อหาวิชา มีองค์ประกอบ คือ

  • ทฤษฎีการเรียนการสอน

  • การออกแบบการสอน

  • การพัฒนาหลักสูตร

  • ผู้สอน
  • นักเทคโนโลยีการศึกษา

สื่อประสม

  • เนื้อหาและภาพประกอบ

  • เสียงประกอบ

  • ภาพวีดิทัศน์

  • สัญรูปต่างๆ

  • นักเทคโนโลยีการศึกษา

Internet Tools

ก็คงจะหนีไม่พ้น World Wild Web ซึ่งรวม
เครื่องไม้เครื่องมือในการท่องเว็บไว้หมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงโดยตรง หรือการค้นหา
ตามคำสำคัญ ซึ่งในหลักการของ WBI ได้แบ่ง
เครื่องมือเป็น ๒ ส่วน ดังนี้

  • ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous) เช่น อีเมล, กลุ่มข่าว

  • ภาวะถ่ายโอนแบบประสานเวลา (Synchronous) เช่น ICQ, Chat หรือ 
    การสนทนาด้วยเสียงหรือภาพ เป็นต้น

  • หมวดคอมพิวเตอร์
  • นักเทคโนโลยีการศึกษา

คอมพิวเตอร์และการเชื่อมต่อ

  • เครื่องคอมพิวเตอร์ 

  • โมเด็ม

  • คู่สายโทรศัพท์

  • ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในท้องถิ่น

  • หมวดคอมพิวเตอร์
  • นักเทคโนโลยีการศึกษา

ภาษาหรือชุดซอฟต์แวร์สำหรับสร้างเว็บไซต์

  • HTML

  • Microsoft FrontPage

  • Macromedia Dreamweaver

  • หมวดคอมพิวเตอร์
  • นักเทคโนโลยีการศึกษา
  • ผู้สอน

พื้นที่เก็บข้อมูล ซึ่งเราอาจจะเช่าหรือใช้ของฟรีก็ได้ เช่น

 

  • หมวดคอมพิวเตอร์
  • นักเทคโนโลยีการศึกษา
  • ผู้สอน

โปรแกรมค้นดูเว็บ

  • Internet Explorer, 

  • Netscape Navigator

  • Opera

  • หมวดคอมพิวเตอร์
  • นักเทคโนโลยีการศึกษา
  • ผู้สอน

อื่นๆ (ได้มาจากวิทยานิพนธ์ของผมเองครับ)

  • ความคิดพัฒนาสร้างสรรค์

  • งบประมาณ

  • การสนับสนุนจากผู้บริหาร

 

เป็นยังไงครับ ถ้าจะสร้างบทเรียนขึ้นมาสัก ๑ บทเรียน โดยมีองค์ประกอบดังตารางที่นำเสนอนั้น จะมีทาง
เป็นไปได้หรือเปล่า ... 

โรงเรียนไหนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้และมีบุคลากรดังกล่าวแล้วนั้น หากทำกันได้ทุกโรงเรียน หรือถ้า
เป็นไปได้แต่ละหมวดวิชาก็สร้างบทเรียนขึ้นมาหมวดละ ๑ ชุดวิชา

หลับตานึกภาพดูสิครับ เราจะได้บทเรียนมากมายขนาดไหน

แต่ผมกลัวจะไปเสียเวลาสอนพิเศษของผู้สอนนะสิครับ ... !!!!

ทั้งหมดนั้น ผมได้มาจากการอ่าน จากประสบการณ์ตรงของผมเอง ไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัวนะครับ เป็น
แนวคิด ข้อเสนอแนะเท่านั้น บางโรงเรียนอาจจะมีมากหรือน้อยกว่านี้ ก็ต้องหาทางปรับประยุกต์เอาเอง
แต่โดยรวมแล้ว พื้นฐานของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและการสร้างเว็บไซต์ ก็มีอยู่ประมาณนี้ละครับ

หากครูหรืออาจารย์ท่านใดหลงเข้ามาเจอเว็บไซต์ผมอีก ก็ลองพินิจพิจารณาดูนะครับว่า ที่ผมว่าไปนั้น
มันทำได้จริงหรือเปล่า 

และที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุดคือ ... ความคิด... และการคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ ...

 

ด้วยจิตคารวะ
๒ มิถุนายน ๒๕๔๔



คำ "ติ-ชม" ของท่านมีค่ามหาศาลต่อการพัฒนาเว็บไซต์ครั

created by.
กระดานดำออนไลน์
775/11 Sukhapibarn 4 Rd. Tambol.Ra-ngang
Sikhoraphum District, Surin Province.Thailand 32110

email : jakrapog@hotmail.com