"เริ่มต้นกับเว็บไซต์"

begin.gif (3810 bytes)    ผมเชื่อว่ามีหลายคนที่อยากจะทำเว็บไซต์ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไง แรกๆ
ผมก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน แต่พอจับจุดได้ว่าเราถนัดอะไร ชอบอะไร ก็ให้
เริ่มจากสิ่งที่ใกล้ๆ ตัวนั้นก่อนนั่นแหละจึงจะประสบความสำเร็จ
     เว็บไซต์แรกของผม เป็นเรื่องเกี่ยวกับการถ่ายภาพ เพราะผมชอบการถ่ายภาพเป็นชีวิต
จิตใจก็ว่าได้ ผมก็เริ่มจากตรงนั้น ว่ากันตั้งแต่ประวัติการถ่ายภาพ เรื่องของเลนส์ชนิดต่างๆ
เมื่อทำไปได้สักพัก เราจะเริ่มมองเห็นความสำเร็จ ทำให้ยิ่งมุเข้าไปอีก (เอาไว้แก้ไขปรับปรุง
เสร็จแล้วจะเอามานำเสนอนะครับ)   
   จากเรื่องการถ่ายภาพ ผมก็หันเล่นเรื่องใหญ่แล้วที่นี้ว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีการศึกษา
ระดับชาติเลย ก็ที่ท่านกำลังอ่านกำลังดูอยู่นี่แหละ อะไรที่ทำแล้วเกิดประโยชน์กับคนหมู่
มากทำไปเถอะครับ

   และเว็บไซต์นี้ ผมอยากจะถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสอันเป็นมงคลที่พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา ถือเป็นโชคดีอันใหญ่หลวงของ
พสกนิกรชาวไทยทั้งผอง ที่ได้เกิดใต้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์

    เอาละครับ หลังจากที่ท่านอ่านจบ เรียนจบโดยทำตามขั้นตอนที่ผมได้ออกแบบและจัด
ทำไว้ ท่านก็จะได้เว็บไซต์เป็นของท่านเองแล้ว ส่วนเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ก็สุดแท้แต่
ท่าน แต่ขอให้ตระหนักอย่างหนึ่งว่า "ผมตั้งใจทำเว็บนี้เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล"
เพื่อที่จะพัฒนาวงการศึกษาของชาติในอีกแนวทางหนึ่ง.

"Web Presentation"

begin.gif (3810 bytes)    จะว่าไปแล้วกระบวนการจัดสร้างเว็บไซต์นั้นก็ไม่ได้แตกต่างจากการนำ
เสนอผ่านสื่ออื่นๆ เท่าใดนัก ท่านใดที่เคยทำงาน Presentation หรือผ่าน
การทำสื่อประเภทต่างๆ เช่นการทำสไลด์ การทำรายการโทรทัศน์ การนำ
เสนอผลงานด้วยโปรแกรม PowerPoint หรือการทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer-Assisted Instruction : CAI) สิ่งเหล่านี้ล้วนมีกระบวนการไม่แตกต่างกัน
มากมายเท่าใดนัก

    การนำเสนอบนเว็บนั้นก็จัดเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของกระบวนการสื่อสาร เราลองมาดูนะ
ครับว่ารูปแบบและกระบวนการสื่อสารนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง

   กระบวนการสื่อสารมีองค์ประกอบ 4 ส่วน ดังนี้

    1. ผู้ส่งสาร (Sender) ซึ่งก็คือเรานั่นเอง
    2. สาร (Message) หมายถึง สิ่งที่เราต้องการนำเสนอ
    3. สื่อหรือช่องทาง (Medium/Channel) หมายถึง ตัวกลางหรือสิ่งที่จะนำสารที่เรา
        ต้องการต้องการนำเสนอไปสู่ผู้รับ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ต่างๆ และในที่นี้ก็คง
        จะเป็น Web Site นั่นเอง
    4. ผู้รับ (Receiver) ก็คือผู้รับสาร และการนำเสนอผ่าน WWW นั้นผู้รับสาร
        เรามีมากมายทั่วโลกที่จะเข้ามาชม Web ของเรา ดังนั้นในการออกแบบและจัด
        ทำนั้นเราควรมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้เรามีเป้าหมายในการทำงาน

ผูส่งสาร (Sender)
ผู้ส่งสาร
-----> สาร (Message)
สาร
-----> สื่อหรือช่องทาง (Medium/Channel)
สื่อ
------>
ผู้รับสาร
<----- <----- <------

แบบจำลององค์ประกอบการสื่อสาร

   จากภาพจะเห็นว่ากระบวนการสื่อสารนั้นเป็นการสื่อสารทั้งสองทางคือ จากผู้ส่งสารไปยัง
ผู้รับสาร และจากผู้รับสารกลับมายังผู้ส่งสารอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการสื่อสารทั้งสองทางจะทำให้ผู้
ส่งและผู้รับมีความเข้าใจที่ตรงกันมากกว่าการสื่อสารทางเดียว

   ปัจจุบัน หากเราท่องเว็บบ่อยๆ จะเห็นว่าเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักมีรูปแบบของการสื่อสารสอง
ทาง เนื่องจากจะทำให้ผู้ใช้มีโอกาสได้ติดต่อกับผู้ทำเว็บ ทำให้เว็บนั้นน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
โดยอาศัยหลักการที่เรียกว่า Common Gateway Interface (CGI) ซึ่งผมจะอธิบาย
ในตอนหลังๆ นะครับ (ผมจะไม่พยายามทำ link ให้มากนัก เนื่องจากว่าต้องการให้ท่าน
เรียนไปเป็นขั้นตอนจะดีกว่า แต่ถ้าท่านมีความเข้าใจตรงจุดใดแล้ว สามารถเลือกเรียนได้
ตามที่ต้องการ โดยเลือกที่หัวข้อด้านซ้ายมือครับ
)

   เมื่อท่านเข้าใจกระบวนการการสื่อสารแล้ว ทีนี้เราลองมาดูกระบวนการจัดทำสื่อ (ต่อไป
ผมจะใช้คำว่า Web นะครับ)

   ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ประการแรกคือเราต้องมีการวางแผนก่อน การทำเว็บก็เช่นกัน
เราต้องมีการวางแผนว่า เราจะทำเว็บเพื่อวัตถุประสงค์ใด มีกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร การใช้
งบประมาณ กำลังคน การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ เป็นต้น

   หลักการโดยทั่วไปในการจัดทำ Web เท่าที่ผมค้นคว้าและสรุปได้เป็นดังนี้ครับ

   1. การวางแผน ข้อนี้ผมได้กล่าวไปแล้วนะครับ

   2. การเตรียมการ เช่น การเตรียมการด้านข้อมูลทั้งที่เป็นเนื้อหา ภาพ เสียง หรือ
สิ่งจำเป็นต่างๆ ที่ท่านคิดว่าต้องการจะนำเสนอ

   3. การจัดทำ เมื่อวางแผนและเตรียมการเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดทำแล้วนะครับ บาง
ท่านอาจจะทำคนเดียว เช่นเดียวกันกับผมก็ได้ การทำเว็บคนเดียวไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก แต่ขอให้มีเวลาให้ก็พอ แต่บางครั้งความคิดความอ่านอาจจะไม่แล่นเท่ากับทำหลายคน

   4. การทดสอบ การทำงานทุกครั้ง ควรจะมีการทดสอบก่อนเผยแพร่ทุกครั้ง เพื่อหาข้อ
บกพร่องแล้วนำมาแก้ไข การทำเว็บนั้น เมื่อทำเสร็จและ Upload ไปไว้ใน Server แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นของฟรีหรือเสียเงินก็ตาม ให้ท่านลองแนะนำเพื่อนฝูงที่สนิทชิดเชื้อและใช้
ิอินเทอร์เน็ตอยู่ ลองเปิดดูและให้บอกข้อผิดพลาดมา เช่น การ link ต่างๆ, รูปภาพ และ
ตัวอักษรว่าถูกต้อง ช้าไปหรือเปล่า เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลต่อเว็บทั้งสิ้น

   ถ้าหากท่านทดสอบจากเครื่องของท่านเองแล้ว ข้อผิดพลาดต่างๆ มักจะไม่ค่อยปรากฏ
ให้เห็น เนื่องจากว่าข้อมูลต่างๆ จะอยู่ในเครื่องของท่าน และ link ต่างๆ เช่นกัน โปรแกรม
จะทำการค้นหาในเครื่องจนพบ ทำให้เราไม่เห็นข้อผิดพลาด

    5. การเผยแพร่ เมื่อทำการทดสอบ แก้ไขปรับปรุงเสร็จแล้ว ท่านก็สามารถเผยแพร่เว็บ
ของท่านออกสู่สาธารณชนได้แล้ว ส่วนจะประชาสัมพันธ์อย่างไร ก็สุดแล้วแต่นะครับ


"การนำเสนอเนื้อหาใน Web site"

begin.gif (3810 bytes)    เมื่อเราเข้าใจความหมายต่างๆ ที่ได้นำเสนอไปในหัวข้อที่ผ่านมาแล้ว ทีนี้
ก็มาว่ากันถึงเรื่องเนื้อหาที่จะนำเสนอนะครับ ก่อนอื่นต้องต้องคำถามให้ตัวเอง
ว่า "ต้องการนำเสนออะไร"
    หลายคนถามผมว่า "ถ้าจะทำเว็บ จะทำเรื่องอะไรดี" ผมก็ตอบว่า "ทำเรื่องที่เราถนัดและ
รู้
ดีที่สุด" อย่างที่ผมเรียนให้ทราบตั้งแต่แรกนั่นละครับ ทำคนเดียวดูคนเดียวก่อนก็ได้ ถ้า
คิดว่าดีพอแล้ว ก็บอกเพื่อนๆ ให้ทราบ และถ้าคิดว่าถึงเวลาจะประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้าน
รับรู้ก็ลองติดต่อกับเว็บไซต์ดังๆ ให้เขาช่วยนำเสนอ หรือจะแลก link กับเว็บไซต์อื่นๆ ก็
ไม่ผิดกติกาอันใด

    ถ้าหากท่านยังไม่ทราบจริงๆ ว่าจะทำอะไรดี ลองมาดูแนวทางและเนื้อหาที่ควรจะนำ
เสนอซึ่งมีดังนี้ครับ (หากใครมีอะไรจะเพิ่มเติม ก็บอกด้วยนะครับ)

  1. เรื่องของตัวเอง เอาเรื่องนี้แหละ ลองเขียนดู อยากเล่าอะไรเกี่ยวกับตัวเองให้คนอื่นได้
รับรู้ เช่น ความชอบ ความถนัด เรื่องราวประทับใจในวัยเด็ก วัยรุ่น วัย...เยอะแยะไปหมด
งานอดิเรก ภาพถ่ายต่างๆ ...เริ่มเห็นเค้ารางๆ หรือยังครับ เอ้า...ลองดู

  2. เรื่องงานอดิเรกหรือเรื่องที่สนใจเป็นพิเศษ หัวข้อนี้ก็แยกมาจากข้อ 1 ครับ หากใครไม่
ต้องการเล่าเรื่องตัวเองให้ชาวบ้านได้รับรู้ ก็เอาเรื่องที่เราชอบหรือสนใจเป็นพิเศษ ยกตัวอย่าง
ผมเองก็แล้วกัน เว็บไซต์แรกที่ผมทำเป็นเรื่องการถ่ายภาพครับ หลังๆ นี้วิชาชักแก่กล้าก็หัน
มาเล่นเรื่องเทคโนโลยีการศึกษาระดับชาติกันเลยทีเดียวครับ

  3. เรื่องราวข่าวสารต่างๆ จากนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ บางครั้งเราอ่านหนังสือพิมพ์หรือ
นิตยสารต่างๆ และมีเรื่องราวที่น่าสนใจ บางคนตัดแปะเก็บเอาไว้ตั้งแต่สมัยยังไม่มีเว็บไซต์
และพอเริ่มรู้จักเว็บและอยากมีเว็บเป็นของตัวเอง ถ้าไม่รู้จะเสนออะไร ก็เอาข่าวหรือเรื่องราว
พวกนี้แหละมานำเสนอ ทั้งเก่าและใหม่ คละเคล้ากันไป ตัวอย่างก็มีให้เห็นกันมากมายครับ

  4. เรื่องราวของบริษัท บางท่านอาจจะทำงานในหน่วยงาน และร้อนวิชาอยากจะทำเว็บ
ไซต์นี่ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะเพิ่มความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของท่าน ก็ลองปรึกษา
หัวหน้างานดูว่า ถ้าจะอาสาทำให้นี่จะได้ไหม...แหมใครละจะไม่อยากทำ จริงไหมครับ

   5. เรื่องราวของโรงเรียน ข้อนี้ สำหรับโรงเรียนที่ต้องการจะทำเว็บไซต์ในแง่มุมต่างๆ อาทิ
ประวัติความเป็นมา รายชื่ผู้บริหาร ครูอาจารย์ ผลงานของโรงเรียน ฯลฯ เป็นต้น เท่าที่ผม
สำรวจมาส่วนใหญ่ก็จะเป็นอย่างนี้นะครับ ทีนี้ ผมจะเสนอแนวคิดในการทำเว็บไซต์เพื่อ
การศึกษาบ้าง เช่น การนำเสนอแผนการสอนหรือวิธีการสอนที่ใช้แล้วนักเรียนสนใจเรียน
และมีผลการเรียนดีขึ้น
หรือ การสร้างและผลิตสื่อสารสอนโดยใช้วัสดุท้องถิ่น ต่างๆ เหล่านี้
ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น ถ้าหากโรงเรียนแต่ละโรงเรียนเสนอแนวคิดของตนเองเพียง
หนึ่งคิด หากมีสัก 500 โรงเรียนทั่วประเทศเราก็จะมีแนวคิดที่หลากหลาย อันจะก่อให้เกิด
ประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาต่อไป

   เอาละ ผมเสนอไอเดียคร่าวๆ เท่านี้ก่อนนะครับ จริงๆ แล้วมันมีอีกเยอะ แต่ว่าเราเป็นมือ
ใหม่ก็เริ่มจากพวกนี้ไปก่อนก็แล้วกัน ถ้าวิชาแก่กล้าเมื่อไหร่ เราค่อยมาว่ากันใหม่นะครับ.

"หลักการทำ Web site"

free.gif (4389 bytes)

   ในหัวนี้ผมจะกล่าวถึงหลักการสร้างเว็บเพจตามทฤษฎีต่างๆ ที่ผมค้นคว้า
จากเอกสารและตำราที่เป็นของต่างประเทศเป็นหลัก โดยจะประยุกต์มาจาก
หลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและการออกแบบเว็บไซต์
ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากงานวิจัยเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เมื่อครั้ง
เรียนปริญญาโทที่รามคำแหง อีกส่วนหนึ่งมาจากงานวิจัยที่ผมกำลังทำอยู่ คือเรื่อง
การออกแบบเว็บเพจของโรงเรียนในโครงการ SchoolNet

  ผมเห็นว่าสิ่งที่ผมเคยทำและกำลังทำอยู่น่าจะเผยแพร่สู่วงกว้างมากกว่าที่จะเก็บไว้ใน
ห้องสมุดแต่เพียงอย่างเดียว ก็เลยเอามาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ดีกว่า

  ในการทำเว็บไซต์   นั้นก็คล้ายๆกับการทำงาน Presentation ทั่วไปเพียงแต่เปลี่ยน
ประเภทของสื่อเท่านั้น ดังนั้นหลักการง่ายๆ ในการทำเท่าที่ผมพอจะแนะนำก็มีดังนี้

1. กำหนดจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมาย
2. รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
3. ศึกษาและเรียงลำดับข้อมูล
4. การออกแบบสาร (Message Design)
5. ทำแผนผังของงาน (Flowchart)
6. การเขียน Storyboard
7. ลงมือทำ
8. ทดสอบและประเมินผล

"หลักการสร้างเว็บไซต์"

1. กำหนดจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมาย 1. กำหนดจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมาย

    ก่อนที่จะทำอะไรท่านต้องมีจุดมุ่งหมายในการทำงาน การทำเว็บไซต์
ก็เช่นเดียวกัน ท่านจะต้องมีจุดหมายว่า ท่านจะทำเพื่ออะไร เพื่อใคร
เมื่อท่านมีจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมายที่แน่ชัดแล้ว จะทำให้ท่านมอง
เห็นเป้าหมายในการทำงานได้ชัดเจนขึ้น ตัวอย่างเช่น นอกจากเรื่องการ
ถ่ายภาพและเรื่องเทคโนโลยีการศึกษาแล้ว ผมยังมีความสนใจเรื่องของช้าง
ถ้าจะทำเว็บไซต์ผมก็จะทำเรื่องช้าง โดยมีจุดหมายเพื่อนำเสนอความรู้
เกี่ยวกับช้าง
ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน และกลุ่มเป้าหมายของผมคือ
คนที่สนใจเรื่องช้างและเรื่องธรรมชาติ
เป็นต้น

กลับไปหัวข้อ

2. รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ 2. รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ

    เมื่อท่านได้เรื่องราวที่จะนำเสนอ โดยมีจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมาย
แน่ชัดแล้ว ก็ถึงขั้นตอในการรวบรวมแหล่งข้อมูล ผมยกตัวอย่างเรื่องช้าง
อีกนะครับ ผมก็จะค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งที่เป็นเนื้อหา รูปภาพ
เสียง ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว
เพราะทั้งหมดสามารถนำเสนอผ่านสื่อ
อินเทอร์เน็ตได้ พอได้ข้อมูลมากพอแล้ว ก็ไปต่อขั้นตอนต่อไปเลยครับ

กลับไปหัวข้อ

3. ศึกษาและเรียงลำดับข้อมูล 3. ศึกษาและเรียงลำดับข้อมูล

    เมื่อท่านได้ข้อมูลมาแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องมานั่งอ่านมานั่งศึกษากันว่า
ส่วนไหนที่เกี่ยวข้องกันบ้าง พอจะแยกเป็นหมวดเป็นหมู่ได้หรือเปล่า
เช่น ผมหาข้อมูลเรื่องช้างมาได้พอสมควร ผมก็จะมาแยกแยะ ดังนี้
ประวัติของช้างตั้งแต่ดึกดำบรรพ์, วิวัฒนาการของช้าง, ประเภทของช้าง
ช้างไทย, ประโยชน์ของช้าง ฯลฯ เป็นต้น เมื่อได้หัวข้อหลักๆ แล้ว หัวข้อ
ย่อยก็จะตามมาเองครับ

กลับไปหัวข้อ

4. การออกแบบสาร (Massage Design) 4. การออกแบบสาร (Message Design)

    เมื่อท่านได้เนื้อหาและหัวข้อในการนำเสนอแล้ว ต่อไปก็๋เป็นการออก
แบบเนื้อหาให้น่าสนใจ ถ้าตามหลักของเทคโนโลยีการศึกษาเราจะเรียกว่า
การออกแบบสาร (Massage Design) การออกแบบสารนี้นอกจาก
เนื้อหาแล้ว ยังรวมไปถึงองค์ประกอบต่างในการนำเสนอด้วย เช่น สีของ
ตัวอักษร
, ภาพประกอบ, กราฟิกต่างๆ  เสียง ฯลฯ เหล่านี้จะต้องสื่อความ
หมายไปในทางเดียวกันกับเนื้อหาด้วย นอกจากนี้ ควรจะเป็นมาตรฐาน
เดียวกัน
เช่น สีของตัวอักษร หรือ ปุ่ม (button) ในการเชื่อมโยง (link)

กลับไปหัวข้อ

5. ทำแผนผังของงาน (Flowchart) 5. ทำแผนผังของงาน (Flowchart)

    ขั้นตอนนี้จะทำให้ท่านลำดับเรื่องราวได้ง่ายขึ้น และเป็นประโยชน์
ในการเชื่อมโยง (link) เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน นักออกแบบบางคนอาจ
ใช้กระดาษสติกเกอร์แปะไว้บนบอร์ด ตามลำดับของเนื้อหาเพราะง่าย
ต่อการเปลี่ยนแปลง หรืออาจจะใช้วิธีการเขียนบนไวท์บอร์ดด้วยปากกา
ที่ลบได้

ตัวอย่างการเขียนผังงาน
ตัวอย่างการเขียนผังงาน

กลับไปหัวข้อ

6. การเขียน Storyboard 6. การเขียน Storyboard

    หากท่านเคยทำงาน Presentation มาก่อนก็คงจะทราบว่าประโยชน์
ของ Storyboard นั้นมีมากมาย เพราะจะทำให้มองเห็นภาพหน้าจอได้
ชัดเจนยิ่งขึ้น
และถ้าหากท่านใดมีฝีไม้ลายมือในเชิงศิลปะแล้ว ก็๋จะทำให้
การทำงานง่ายขึ้นไปอีก เมื่อครั้งผมทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น
จะมีกระดาษ Storyboard สำหรับออกแบบโดยเฉพาะและว่ากันเป็น
Pixel เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม บางท่านอาจจะมองภาพไว้ใจแล้วนั่งทำ
หน้าจอเลยก็ได้

ตัวอย่าง storyboard
ภาพตัวอย่างการทำ storyboard

กลับไปหัวข้อ

7. ลงมือทำ 7. ลงมือทำ

    งานการใดๆ ถ้าไม่ลงมือทำ ก็ย่อมไม่เห็นผลสัมฤทธิ์ ดังนั้นขั้นตอนนี้
ไม่ขอกล่าวมากนัก ส่วนเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ จะไปว่ากันใน
หัวข้อ "เครื่องมือในการสร้างเว็บเพจ" เพราะหน้านี้ยาวเกินทฤษฎีแล้ว

กลับไปหัวข้อ

8. ทดสอบและประเมินผล 8. ทดสอบและประเมินผล

    หลังจากที่ท่านทำเสร็จทุกขั้นตอนของการทำเว็บเพจแล้ว ก็ควรจะมี
การทดสอบและประเมินผลจากตัวท่านเองก่อน โดยสมมติว่าท่านเองเป็น
ผู้ชมคนหนึ่ง ควรดูการเชื่อมโยงว่า สีเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกหน้าและ
ใช้การได้หรือเปล่า ภาพหรือกราฟิกตรงตามเนื้อหาหรือไม่
จากนั้นให้
แนะนำเพื่อนฝูงให้ดูและช่วยตรวจสอบอีกที หากพบข้อบกพร่องก็ควร
แก้ไข ก่อนจะประชาสัมพันธ์ต่อไป

กลับไปหัวข้อ

    เป็นอันว่าเสร็จสิ้นกระบวนการในการทำเว็บไซต์แล้วนะครับ อย่างไรก็ดีสิ่งที่ผมได้
นำเสนอไปนั้น ไม่ใช่ว่าจะต้องนำไปยึดเป็นหลักเสมอไปเป็นเพียงสิ่งที่ผมค้นพบและ
บอกต่อ ซึ่งถ้าหากใครมีวิธีการที่แปลกต่างออกไป เราก็สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ซึ่งก็
จะเป็นการต่อยอดของความคิดต่อไปอีกไม่รู้จบ ทำให้เกิดการพัฒนาในวงกว้างต่อไป

กลับไปหัวข้อ

เริ่มต้นกับเว็บไซต์ web presentation การนำเสนอเนื้อหา หลักการสร้างเว็บไซต์

จบเรื่องเริ่มต้นเว็บไซต์ ต่อไปขอให้ท่านเรียนเรื่อง การสมัคร email

จัดทำโดย.นายจักรพงษ์   เจือจันทร์ 775/11 ถนนสุขาภิบาล 4 ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
email: webmaster@kradandum.com

ปรับปรุงล่าสุดวันWednesday, 10 March 2004