back01.jpg (2183 bytes)

back.gif (8597 bytes)


***เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกทั้งหมดได้ แต่เราสามารถทำให้ดีขึ้นได้***

กระดานดำออนไลน์


button.jpg (1219 bytes)ทุกครั้งที่ผมเห็นคนเลี้ยงช้างซึ่งเป็นชาวกูยเช่นเดียวกับผม เร่ขายอาหารไม่ว่าจะเป็นกล้วย
หรืออ้อย ตามสถานที่ต่างๆ ผมมักจะเข้าไปทักทาย ถามสารทุกข์สุกดิบกับพวกเข้าด้วยภาษากูย
เสมอๆ จนเพื่อนๆ มักแซวผมเมื่อเวลาเห็นช้างเดินมา
"โย นั่นไงเพื่อนมึงมาแล้ว"
kuan1.jpg (9989 bytes) ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาไม่อยากจะมาหรอกครับ อยาก
ให้ดูภาพด้านซ้าย ในฤดูทำนาที่เรามักจะพบเห็นพวกเขา
พาช้างเพื่อนยากไปไหนต่อไหนด้วยเสมอ ในภาพจะเห็น
ช้างอยู่ลิบๆ แต่เมื่อหมดฤดูทำนา ฟ้าฝนก็แล้ง...ช้างต้องกิน
นะครับ...และ
กินเฉลี่ยวันละ ๒๐๐ กิโลกรัม ไม่มีป่า ไม่มี
อาหาร คนไม่มีเงิน ลูกไม่มีค่าสมุดดินสอ...ใครจะช่วย
ที่สำคัญที่สุดคือ
"ช้างสุรินทร์เป็นช้างเลี้ยง" ซึ่งชาวกูยจะเลี้ยง
ช้างเหมือนกับคนเมืองเลี้ยงหมาเลี้ยงแมว ความผูกพันต่างๆ
ก็ไม่ต่างกันกันคนรักสัตว์เลี้ยงโดยทั่วไป...
button.jpg (1219 bytes)ผมอาจจะโชคดีกว่าพวกเขามากมายนักที่มีโอกาสร่ำเรียนจนจบปริญญาโท...ในสำนึกของ
ชาวกูยด้วยกัน...ผมมีความรู้สึกว่า...
"ผมกินแค่อิ่ม...นอนแค่หลับ" ไม่สามารถจะฝืนกินฝืนนอน
ไปให้ได้มากกว่านี้ ส่วนความสะดวกสบาย...ผมไม่ค่อยได้พบพานเท่าไรนักในชีวิตนี้ บรรพบุรุษ
ผมก็เป็นชาวนาธรรมดาๆ นี่แหละ เพียงแต่ผมมีโอกาสและดิ้นรนมากกว่าเท่านั้นเอง...

ในเมื่อผมอิ่ม ในขณะที่พี่น้องอีกส่วนหนึ่งต้องตกระกำลำบาก ถูกเขาดูถูกเหยียดหยาม บางครั้ง
บางหนผมก็รู้สึกเสียใจเหมือนกัน แต่ผมทำอะไรไม่ได้มากไปกว่า
"ทำใจ" ตอนนี้ผมมีโอกาสที่
จะเรียกร้องบางสิ่งบางอย่างให้พวกเขาแล้ว...และผมก็จะทำเท่าที่ผมทำได้

button.jpg (1219 bytes)เมื่อปี ๒๕๓๖ ผมเจอกับเพื่อนที่เรียนโทอยู่ธรรมศาสตร์ได้มาทำวิจัยเกี่ยวกับคนเลี้ยงช้าง
ที่หมู่บ้านตากลาง และผมทราบข้อมูลเบื้องต้นว่า
เด็กๆ ที่นี่มีอัตราการเรียนต่อน้อยเป็นอันดับ
ต้นๆ ของประเทศ
เรียกว่าติด ๑ ใน ๕ ก็ว่าได้...เพราะเมื่อจบระดับประถมแล้ว พวกเขาต้องออก
ไปช่วยครอบครัว และถ้าเป็นผู้ชายก็คงจะต้องไปเร่ร่อนกับช้าง...ปัจจุบัน
ผมเห็นผู้หญิงมาร่วม
คาราวานด้วยแล้ว...?
button.jpg (1219 bytes)ทุกวันนี้ หากลองไปถามพวกเขาดู พวกเขาก็จะตอบว่า "อยู่บ้านมีแต่ตายกับตาย" หาก
ถามถึงความช่วยเหลือจากทางจังหวัด...ถ้ามี...พวกเขาคงไม่เป็นเช่นนี้ ผมเคยพูดคุยปรึกษากับ
เพื่อนๆ ว่า
"ผมอยากหาทางช่วยให้พวกเขาได้กลับมาบ้าน ด้วยการให้การศึกษา" คำตอบก็คือ
จะไปทำอะไรได้...แต่ผมไม่ยอมแพ้จนกว่าจะได้ทำ...
หากถามคนสุรินทร์ว่า "เคยไปบ้านตากลางหรือเปล่า" จาก ๑๐ คน คงมีไม่ถึง ๓ คน ????
และหากคนสุรินทร์กลับไปทบทวนประวัติศาสตร์ของการสร้างบ้านแปงเมืองเมื่อครั้งอดีต ลูกหลาน
ของ
"เชียงปุม" คงไม่ลำบากอย่างนี้ อย่างไรก็ดี หลายๆ หน่วยงาน หลายๆ องค์กรก็ได้ยื่นมือเข้า
มาให้ความช่วยเหลือ
ผมและชาวสุรินทร์ก็ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ แต่ในความรู้สึกลึกๆ ผมอยาก
ให้ "คนสุรินทร์" ด้วยกัน หันมาช่วยเหลือมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
อย่าลืมว่า จังหวัดสุรินทร์
มีชาวกูยเป็นเจ้าเมืองคนแรก
และช้างนี่แหละที่มีบุญคุณเหลือหลาย...ทำไมเราลืม

button.jpg (1219 bytes)นอกจากช้างแล้ว หมู่บ้านชาวกูยที่บ้านตากลางยังมี
วัฒนธรรมและประเพณีที่น่าส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้อีกหลายอย่าง
ซึ่งส่วนใหญ่จะมีช้างเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ นี่ก็ถือเป็นจุดขาย
อีกอย่างหนึ่งหที่จะทำให้พวกเขามีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น

kratin.jpg (9539 bytes)

student.jpg (8720 bytes) ความที่ผมร่ำเรียนมาทางด้านการศึกษา และผมได้ใช้การศึกษา
ของผมนี่แหละในการพัฒนาทั้งความคิดและจิตใจกระทั่งเป็นตัวตน
ที่แท้จริงในวันนี้
ผมก็อยากให้น้องๆ ลูกหลานชาวกูยบ้านตากลาง
มีโอกาสอย่างผมบ้าง
อย่างน้อยก็ถือว่าผมได้พยายามแล้ว...อยากให้
เขามีหนังสือดีๆ มีสื่อการเรียนการสอนที่พอจะช่วยให้การเรียนไม่
น่าเบื่อหน่ายเกินไปนัก...
button.jpg (1219 bytes)ผมเชื่อว่าการศึกษาจะทำให้คนเรามีความคิดความอ่านดีขึ้น แต่การจะนำไปใช้อย่างไรนั้น
มันเป็นสิ่งที่พูดลำบาก คนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน แต่ถ้าคนที่มีโอกาสกว่าจะช่วยเหลือคนที่ขาด
โอกาสนั้นก็เป็นสิ่งที่ควรกระทำ...เอาละครับ...
ความฝันลมๆ แล้งๆ ของผมคือ ผมอยากจะให้
โรงเรียนบ้านตากลางมีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่พอจะช่วยยกคุณภาพของการศึกษาให้ทัดเทียม
กับคนในเมืองกรุงบ้าง
สักครึ่งของครึ่งของครึ่งก็ยังดีครับ...หากใครสนใจจะบริจาคหนังสือหรือ
ตำหรับ ตำรา ที่ไม่ใช้ไม่อ่านแล้ว
ก็ขอเชิญส่งมาให้ผมตามที่อยู่ข้างล่างนะครับ...ตอนนี้ผมขอเพียง
แค่นี้ก่อน...จากนั้นค่อยว่ากันใหม่...ตอนต่อไป เดี๋ยวจะมาเล่าเรื่องของ
ควาญช้างที่น่ารักที่สุดในโลก
และเรื่องของ
นักเขียนสารคดีชาวญี่ปุ่นที่เอาเรื่องช้างบ้านตากลางไปเขียนเป็นหนังสืออ่านนอกเวลา
...แหม...น่าเสียดาย ...เอาไว้จะมาเล่าให้ฟังวันหน้าครับ...และหากใครมีอะไรอยากแลกเปลี่ยน
หรือแนะนำก็เชิญได้นะครับ...น้อมรับทุกความคิดครับ

button.jpg (1219 bytes)วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๓
ผมดูข่าวทีวี ได้รับข่าวดีว่าทางจังหวัดสุรินทร์
ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฯพณฯ พูนสวัสดิ์
มูลศาสตร์สาธร, ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด, ท่านนายก อบจ.
และหลายๆ ฝ่าย ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับช้างและ
ชาวกูยและชาวสุรินทร์ทุกคน

แสดงให้เห็นว่าคนสุรินทร์ก็ตระหนักถึงปัญหาตรงนี้ดี สำหรับส่วนของผมที่ทำก็เป็นความพยายาม
อีกส่วนหนึ่งที่จะช่วย
เพราะถ้าต่างฝ่ายต่างหาทางแก้ไขและช่วยเหลืออย่างมีเหตุผล ปัญหาต่างๆ
ย่อมลุล่วงไปได้ด้วยดี ก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วย ส่วนโครงการ
"ช้างคืนถิ่น"
ด้วยการให้การศึกษาของผมก็ยังคงดำเนินต่อไป และขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับท่านที่แสดงความ
จำนงมาแล้วและท่านที่กำลังจะให้ความช่วยเหลือต่อไป

...หนังสือดีๆ คนละเล่ม ๑๐ คน ๑๐ เล่ม ๑๐๐ คน ๑๐๐ เล่ม...


button.jpg (1219 bytes)๒๐ มีนาคม ๒๕๔๓
หลังจากเดินทางทางไปบรรยายพิเศษที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๑๗ ที่ผ่านมา   กลับเข้ากรุงเทพ
และมาที่อำเภอศีขรภูมิ ชีวิตผมมักจะวนเวียนอยู่กับการเดินทาง แต่นั่นก็ทำให้ผมได้พบพานกับ
หลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่าง โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้คน

กลับมาที่บ้านแวะไปที่แผงหนังสือ ได้ "เนชั่น สุดสัปดาห์" กลับมานอนอ่าน เจอรายงานพิเศษ
ของท่าน "อานันท์   ปันยารชุน" บุคคลที่ผมชื่นชอบมากที่สุด ๑ ใน ๓ ของประเทศก็ว่าได้ โดย
"เนชั่นฯ" ได้นำปาฐกถาของอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยท่านนี้มาเผยแพร่ และจั่วหัวไว้ว่า
'อานันท์' ปลุกสำนึกคนเมือง ส่งช้างกลับบ้าน...คืนป่าสู่ช้าง (ฉ.๔๐๗ วันที่๒๐ - ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๓ น.๘๐-๘๑)

button.jpg (1219 bytes)ขออนุญาตนำบทปาฐกถาของท่านมากล่าวอ้างในที่นี้นะครับ

...ช้างเคยเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย
และเคยมีบทบาทในการปกป้องแผ่นดิน
นอกจากช้างจะเป็นสัตว์พาหนะที่รับใช้แผ่นดิน ช้างยังเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง
ดังจะเห็นได้ว่า ในตราแผ่นดินจะมีรูปช้างอยู่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ช้างเผือกนั้น เป็นสัญลักษณ์ของพระบรมเดชานุภาพ
นอกจากนี้ ช้างเผือกยังเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์สายหนึ่ง
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ข้าราชการ
โดยมีมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกเป็นชั้นสูงสุด...

...แต่วันนี้ช้างได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความล้มเหลว
และความไม่เป็นธรรมในการพัฒนาของไทย
ทุกวันนี้เมื่อเราเห็นช้างเดินอยู่บนถนนในกรุงเทพฯ
เรารู้สึกเวทนา ทั้งนี้เพราะเราไม่เพียงแต่สงสารช้างเท่านั้น
แต่เรายังรู้สึกอับอายด้วย...

button.jpg (1219 bytes)และอีกตอนหนึ่ง ซึ่งอาจจะทำให้หลายๆ คนได้เข้าใจอะไรๆ ดีขึ้นบ้าง

...จังหวัดสุรินทร์ซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องการแสดงช้างมาช้านาน
และมีการเลี้ยงช้างมานานนับร้อยปี มีช้างเลี้ยงอยู่ประมาณ ๒๐๐ เชือก
สุรินทร์เป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย...

...ชาวสุรินทร์มีรายได้เฉลี่ยเพียง ๑๓,๕๐๐ บาทต่อคนต่อปี
หรือเท่ากับ ๑,๑๒๕ บาทต่อคนต่อเดือน
หรือ ๓๗.๕ บาทต่อคนต่อวัน
ซึ่งเป็นจำนวนที่เล็กน้อยมาก
...ยังไม่พอค่าทางด่วนขั้นแรกในกรุงเทพฯ ด่านเดียวเสียด้วยซ้ำ...
แต่ถ้าหากควาญช้างนำช้างเข้าเมือง เพื่อให้คนลอดท้องช้าง
หรือเพื่อขายกล้วยให้คนที่ผ่านไปมาซื้อเลี้ยงช้าง
เขาจะมีรายได้เฉลี่ยวันละ ๕๐๐ บาท
จะผลักดันช้างและเจ้าของช้างออกนอกเมืองได้อย่างไร
ถ้าหากรายได้แตกต่างกันมากกว่า ๑๐ เท่าเช่นนี้...


button.jpg (1219 bytes)ในบทความยังกล่าวถึงกรณีปัญหาทั้งของช้างป่าและช้างบ้านอันเป็นผลพวงมาจากการ
พัฒนาเศรษฐกิจที่ไร้ทิศทางของบ้านเรา ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อช้างทั้งหลาย
ผมขอกราบขอบพระคุณท่านอานันท์ มา ณ ที่นี้ เพราะท่านเป็นบุคคลที่มองเห็นและเข้าใจปัญหา
ทั้งหลายทั้งปวงที่ชาวช้างทั้งหลายประสบอยู่ ผิดไปจากผู้นำหลายๆ คนที่มัวเมาในอำนาจจนลืม
ปัญหาที่แท้จริงของประชาชน...ลองไปหาอ่านกันดูนะครับ

button.jpg (1219 bytes)เอาละครับว่ากันเรื่องเครียดๆ มาเยอะแล้ว อย่างที่ผมเคยกล่าวไว้ตอนต้นๆ เรื่องว่าจะเล่า
เรื่องควาญช้างที่น่ารักที่สุดในโลกมาให้อ่านได้ชมกัน ก็ถึงเวลาเสียทีครับ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา
กลับบ้านครั้งนี้ ส่วนคราวหน้าจะว่า เรื่องของช้างแฝดจุ๋มจิ๋ม ซึ่งเคยเป็นสมบัติของชาวสุรินทร์
อย่างว่าละครับ ในที่สุดก็ต้องตกเป็นสมบัติของสวนสัตว์เขาเขียว...แต่นั่นก็ทำให้ชีวิตของเจ้าช้าง
แฝดทั้งคู่รวมทั้งพังลำดวนและพี่อุ่นเจ้าของช้าง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (แต่ผมมาทราบข่าวว่า
พี่อุ่นต้องสูญเสียลูกชายคนโตไปจากอุบัติเหตุ...หลายปีแล้ว) เอาละมาชมเรื่องราวสนุกๆ และน่ารัก
ของช้าง ช้าง ช้าง ได้แล้วครับ


ด้วยจิตคารวะ



สารบัญ

งานช้าง ประเพณีบวช เรื่องของช้าง จากป่าสู่เมือง

 


 

Created By:จักรพงษ์   เจือจันทร์
775/11 ถนนสุขาภิบาล 4 ต.ระแงง
อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ 32110

yo.jpg (13579 bytes)