Hoover Dam


ความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว... ผมรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว มีอาการคล้ายจะเป็นไข้ มันก็น่าอยู่หรอกครับ เพราะเดี๋ยว
ร้อนเดี๋ยวหนาว ที่สำคัญคือผมตรากตรำเกินไปในช่วงที่ทำงาน กว่าจะได้นอนก็นู้น เที่ยงคืน, ตี ๑ ตี สอง แทบ
ทุกคืน พอมาเจอสภาพอากาศแบบนี้ มีหรือจะทนไหม อีกอย่าง ช่วงที่เดินถ่ายภาพนั้น ผมไม่รู้ร้อน รู้หนาว
เพราะตื่นตากับภาพที่ปรากฎเบื้องหน้า ... ผมเริ่มมีอาการไอเมื่อเจอกับความเย็นของเครื่องปรับอากาศบนรถ

จาก Grand Canyon ไป Las Vegas ระยะทางประมาณ ๓๔๙ ไมล์ พอๆ กับกรุงเทพ-ศีขรภูมิเลยครับ
เวลาตามคาดไว้ราว ๕ ชั่วโมง

เที่ยงกว่าๆ เราก็ออกเดินทางจาก Grand Canyon และแวะ
พักกินข้าวเที่ยงที่โรงภาพยนตร์ IMAX อยู่ใกล้ๆ กันนั่นแหละ
ลงจากรถผมไม่พลาดที่จะบันทึกภาพเก็บเอาไว้ (ตัวเท่ามด)

อิ่มหนำสำราญก็เดินดูบรรยากาศรอบๆ เหมือนสถานที่ท่องเที่ยว
ทั่วไปละครับ ร้านอาหาร (แต่เราไม่ซื้อ ห่อมากิน...ฮา) ร้านขาย
ของที่ระลึก (เราไม่ซื้อ...เพราะแพง) 

แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจที่สุดสำหรับคณะของเรานั่นคือตู้ปั๊มเหรียญ ซึ่งจะมีอยู่แทบทุกที่ๆ สำคัญ ผมพลาดมา
หลายหนแล้ว เพราะมัวแต่ถ่ายรูป เพื่อนๆ พอขึ้นรถเขาก็เอาเหรียญที่ปั๊มมาอวดกัน คราวนี้มีหรือผมจะพลาด

เหรียญที่ได้มานั้น ถือว่าเป็นของที่ระลึกได้
อย่างดีทีเดียว ที่สำคัญหาซื้อไม่ได้ ต้องทำเอง

วิธีการก็ง่ายๆ ไม่ยากเย็น ดังนี้ครับ (แต่ต้อง
เตรียมเหรียญให้พร้อม เพราะไม่มีที่ให้แลก

  • หยอดเหรียญ ๑๐ เซนต์ลงในช่องที่
    เขากำหนดไว้ (เหรียญเดียวนะ)

  • หยอดเหรียญ ๒๕ เซนต์ ๒ เหรียญ

  • เลือกแบบที่ต้องการ

  • กดปุ่ม หรือ บางตู้ต้องออกแรงหมุนเอง

เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยโรงเรียน Grand Canyon เราก็จะได้เหรียญที่ระลึกรูปร่างตามแบบล่างสุด แหม
บ้านเราน่าจะเอามาทำบ้างนะ หรือมีแล้วแต่ผมไม่ทราบ โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นปราสาทหินแถวๆ
บ้านผม ถ้าปั๊มออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ลวดลายทับหลัง, หรือรูปปราสาท อะไรทำนองนี้แหละ ลองนึกภาพ
ดูสิว่าจะสวยงามและน่าเก็บไว้เป็นที่ระลึกขนาดไหน

เอาละครับ อิ่มหนำสำราญ และซึมซับเอาบรรยากาศของ Grand Canyon เป็นครั้งสุดท้ายของเที่ยวนี้ และก็
ไม่รู้ว่าจะได้มาอีกเมื่อไหร่ เพราะมันไม่ใช่มากันง่ายๆ นะขอรับ

อำลา-อาลัย Grand Canyon มุ่งหน้าสู่ Las Vegas อีก ๕ ชั่วโมงกว่าจะถึง ของีบเอาแรงก่อนดีกว่า
อาการไอ เริ่มกำเริบหนักขึ้นเรื่อยๆ

วิ่งมาได้ครึ่งทางแถวๆ เมือง Kingman ก็จอดปั๊ม พักทั้งรถทั้งคน ได้โอกาสของคนไทยนัก Shopping
ติดอันดับโลกทำงานอีกครั้งแล้ว (ฮา) มาทั้งทีไม่ซื้อของที่ระลึกติดไม้ติดมือก็ดูกระไรอยู่ ผมได้ Posrcard
กับไอศรีมดับร้อน แม้ว่าจะไอแต่ก็ทนไม่ไหวครับท่าน ร้อนระเบิดเทิดเถิง ดูบรรยากาศในรูปก็แล้วกัน
นั่นแหละเส้นที่เราเดินทาง ... เหมือนเอาเมืองไปตั้งไว้บนโลกพระจันทร์

เสร็จภารกิจก็ออกเดินทางต่อ จุดหมายปลายทางคือ Las Vegas แต่ระหว่างทางนั้นมีสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
กั้นขวางอยู่ มีหรือที่พวกเราจะเสียโอกาสที่ดีที่สุดของชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ....

Hoover Dam

เคยอ่าน เคยเรียนตั้งแต่สมัยประถมนู้น ว่าเขื่อน
ฮูเวอร์เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ใครจะนึกฝัน
ว่าสักวันจะได้มานั่งถ่ายภาพอยู่ที่สันเขื่อนที่ว่านี่

ส่วนเขื่อนในเมืองไทยผมเคยเห็นไม่กี่แห่ง เขื่อน
ยันฮีที่สามเงา จ.ตากที่ว่าสูงอันดับ ๗ ของโลก ผมก็
เคยแต่นั่งรถประจำทางผ่าน ไม่มีวาสนาได้เห็น

เขื่อนที่รู้จักมักคุ้นที่สุดคือ เขื่อนห้วยเสนงที่สุรินทร์นี่แหละ รองลงมาคือเขื่อนลำตะคอง ที่สีคิ้วโคราช
เพราะนั่งรถผ่านทุกครั้งที่ขึ้นลง กท. และอีกแห่งก็คือเขื่อนเจ้าเณรหรือเขื่อนศรีนครินทร์ ที่มีโอกาสแวะเวียน
ไปหลายหนอยู่เหมือนกัน เนื่องจากไปทำกิจกรรมนักศึกษา เมื่อครั้งเรียนที่รามคำแหง

ส่วน "เขื่อนฮูเวอร์" นี่แค่คิดก็ยังไม่กล้าแล้ว ได้ไปอเมริกาก็ถือเป็นวาสนาสูงสุดครั้งหนึ่งในชีวิต แต่นี่มีโอกาส
ไปเห็นสิ่งที่ถูกจัดว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในยุคกลางของโลก (ไปอเมริกาครั้งนี้ผมมีโอกาสเห็นถึง ๓ สิ่งด้วยกัน คือ
เขื่อนฮูเวอร์, เรือควีนส์แมรี่ และสะพานโกลเด้นเกท จะทยอยเล่าไปเรื่อยๆ นะครับ)

ไหนๆ ก็แวะมาชมแล้วก็ขอเล่าประวัติให้ฟังกันหน่อยนะครับ 

Hoover Dam เป็นเขื่อนที่สร้างกั้นแม่น้ำโคโลราโดระหว่างรัฐเนวาด้ากับอริโซน่า  ในสมัยประธานาธิบดี
คนที่ ๓๑ Herbert Hooverโดยมีลักษณะสำคัญๆ คือเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่กักน้ำสำหรับชาว
แคลิฟอร์เนียตอนใต้ มีความสูงถึง๗๒๖.๔ ฟุต ยาว ๑,๒๘๒ ฟุต ใช้เวลาก่อสร้างนาน ๗ ปี มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
๑๗ เครื่อง 

เรามีเวลาดื่มด่ำกับสิ่งมหัศจรรย์ของโลกนี้เพียง ๒๐ นาที ก่อนจะนั่งรถผ่านสันเขื่อน เพื่อไปกินข้าวเย็นที่
ร้านโอชา ซึ่งเป็นร้านอาหารไทยในลาสเวกัส

 


Homepage



คำ "ติ-ชม" ของคนมีค่ามหาศาลต่อการพัฒนาเว็บไซต์ครั
created by.
กระดานดำออนไลน์
775/11 Sukhapibarn 4 Rd. Tambol.Ra-ngang
Sikhoraphum District, Surin Province.Thailand 32110

email: jakrapog@hotmail.com
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๔