"เครื่องไม้เครื่องมือในการสร้าง Web site"

tool1.jpg (40334 bytes)

   ในหัวข้อที่แล้วผมได้กล่าวถึงหลักการในการสร้างเว็บไซต์เว็บไปแล้ว ถ้า
จะเปรียบกับการสร้างบ้าน ก็คือเราได้พิมพ์เขียวมาแล้ว ที่นี้ก็ถึงเวลาลงมือ
สร้างบ้านกันละ ก็อยู่ที่แต่ละท่านละครับ ว่าจะเลือกใช้เครื่องไม้เครื่องมือ
และจะสร้างบ้านออกมาเป็นรูปร่างหน้าตาอย่างไร  สำหรับเครื่องไม้เครื่อง
เครื่องมือในการสร้างเว็บไซต์ ก็คือตัวโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์นั่นเองในที่นี้ผมจะ ขอกล่าว
ถึงในส่วนของมือใหม่เป็นหลักก่อนนะครับ

   และนอกจากตัวโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บไซต์เป็นหลักแล้ว ผมก็จะแนะนำโปรแกรมที่ช่วย
เสริมให้เว็บไซต์ของเราดูไม่จืดชืดเกินไปนัก จำพวก graphic และ animation บอกเฉพาะ
ชื่อและการทำงานคร่าวๆ ส่วนวิธีการคงจะไม่กล่าวถึง (แต่ถ้าหากมีเสียงเรียกร้องมาสัก 100
เสียงขึ้นไป ผมก็จะพยายามนำเสนอให้ครับ...:-)

ซอฟท์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บไซต์

   1. ภาษา HTML (Hyper Text Markup Languge)
    เป็นภาษาหลักในการสร้างเว็บไซต์เลยทีเดียวสำหรับผมแล้วถือว่ามีความจำเป็นสำหรับ
นักออกแบบมืออาชีพเลยก็ว่าได้ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะมีซอฟท์แวร์สำเร็จรูปมากมายที่ผม
จะกล่าวถึงต่อไป แต่หากเราไม่พยายามศึกษาเรื่องของ HTML แล้ว ยากนักที่เราจะพัฒนา
เว็บไซต์ของเราให้น่าสนใจได้เพราะซอฟท์แวร์สำเร็จรูปนั้น ในบางครั้งเราก็ไม่สามารถทำ
ในสิ่งที่ต้องการได้ และที่สำคัญคือเราสามารถสร้างเว็บไซต์ได้จากโปรแกรม text editor
จำพวกNotepad หรือ Word Processing ทั่วไปได้ (รายละเอียดต่างๆ สามารถอ่านได้
ในหนังสือ ผมแนะนำให้ซื้อเก็บไว้เลยนะครับ เอาเล่มที่ท่านคิดว่าอ่านแล้วรู้เรื่องที่สุดนั่น
แหละ เพื่อเป็นคู่มือเมื่อท่านเจอปัญหา)

 

fp98.jpg (5505 bytes)

  2. Frontpage 98 และ 2000 (ตัวย่อ F/P)
  เป็นซอฟท์แวร์จากค่าย MIcrosoft ผมเริ่มต้นการสร้างเว็บไซต์
จากโปรแกรมตัวนี้ละครับ เอาเป็นว่าจากที่ไม่เป็นอะไรเลยกระทั่ง
มาเป็นเรื่องเป็นราวที่ท่านได้อ่านนี่แหละ แรกๆ ก็ไปยืนอ่านวิธี
การทำในคู่มือตามร้านหนังสือ และอ่านจนมั่นใจว่าหนังสือเล่มนี้
แหละที่ผมต้องซื้อ เพื่อนผมบางคนซื้อไว้ตั้งหลายเล่ม หากท่านต้องการเป็น Webmaster ก็ควรมีติดไว้สักเล่มนะครับ (เอาเล่มที่ท่านอ่านแล้วเข้าใจที่สุด) 

    F/P98 เป็นโปรแกรมที่ใช้ง่ายพอๆ กับ โปรแกรมจำพวก Word นั่นแหละ ผมนั่งเล่น
วันเดียวก็เป็นแล้ว (รู้อย่างนี้หัดตั้งนานแล้ว) และจะเป็นโปรแกรมประเภท WYSIWYG
(What You See Is What You Get)
  คือเห็นอย่างไรก็ได้อย่างนั้น แต่ไม่ทั้งหมดที
เดียวยังมีบางส่วนที่ต้องปรับแก้บ้าง นอกจากนี้ตัวโปรแกรมยังสร้างภาษา HTML ให้โดย
อัตโนมัติซึ่งเราสามารถแก้ไข HTML นั้นได้ด้วย

    ส่วน F/P 2000 ก็พัฒนาจาก 98 ทำให้ใช้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก อย่างไรก็ตาม ผมยังคง
ใช้F/P98 ผสมกับ HTML ซึ่งทำให้ได้สิ่งที่ผมต้องการก็เพียงพอแล้ว ก็ลองหามาใช้ดูนะ
ครับเอาของถูกกฎหมายนะครับ  :)

 

pagemill.jpg (3740 bytes)

  3. Adobe PageMill 3.0
   จากค่าย Adobe เจ้าของ PhotoShop ที่นักกราฟิกทั้งหลายคุ้น
เคยกันดีซอฟท์แวร์ตัวนี้หาคู่มืออ่านประกอบยากแต่ถ้าได้ลองใช้แล้ว
ก็จะเห็นว่าใช้งานง่ายเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นมือใหม่แล้วก็อาจจะยาก
หน่อยนะครับ เพราะต้องแกะเอง อย่างไรก็ดีหากท่านเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษละก็เปิดอ่าน
ในHelp ก็จะมีรายละเอียดทุกขั้นตอน

 

dream.jpg (3694 bytes)

4. Macromedia Dreamweaver 2
  จากค่าย Macromedia เจ้าของโปรแกรมจำพวก Presentation
ที่หลายๆ คนคุ้นเคยกันดี อาทิ Director, Authorware หากท่าน
คิดว่าจะเป็นมืออาชีพเลยละก็แนะนำให้ใช้โปรแกรมนี้ตั้งแต่แรกเลย
ก็แล้วกัน ขณะนี้มีคู่มือภาษาไทยขายแล้ว ผมเคยลองใช้ดูก็ถือว่าดีนะแต่ยังไม่คุ้นเท่าไหร่
หากมีเวลาก็จะลองศึกษาอีกครั้ง

    นอกจากโปรแกรมที่กล่าวไปแล้วก็ยังมีอีกหลายตัวที่ไม่ได้เอ่ยถึง เพราะอาจจะไม่คุ้นหู
และยากต่อการใช้งานสำหรับมือใหม่   ก็เอาเท่านี้ก่อนและหัดให้ชำนาญแล้วค่อยขยับ
ขยายหาทางเลือกที่ตัวเองถนัดต่อไปครับ

    อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้ไม่ใช่สูตรตายตัว เพราะเป็นสิ่งที่ผมเขียนขึ้นจากประสบการณ์ หากท่านใดมีข้อคิดหรือสิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ผมก็ยินดีรับฟังและแก้ไข
ปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมต่อไป

---- จบเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือ ----

จัดทำโดย.นายจักรพงษ์   เจือจันทร์ 775/11 ถนนสุขาภิบาล 4 ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
email: webmaster@kradandum.com

ปรับปรุงล่าสุดวันWednesday, 10 March 2004