งานช้าง, งานช้างสุรินทร์, ประวัติงานช้าง

งานช้าง, งานช้างสุรินทร์, ประวัติงานช้าง


ช้าง, ช้างสุรินทร์, ประวัติงานช้าง
ชาวกูยกับการสาธิตการจับช้าง (ภาพจากโปสเตอร์)

button.jpg (1219 bytes)ย้อนอดีตกลับไปเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีที่ผ่านมาในสมัย
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์
กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่ง
กรุงศรีอยุธยาช้างเผือกสำคัญแตกโรงหนีเข้าป่ามาทางเมือง
พิมาย พระองค์จึงโปรดฯ ให้ทหารออกติดตาม จนกระทั่ง
ถึงเขตที่ชุมชนชาวกูย (กวย) อาศัยอยู่ ซึ่งชาวกวยกลุ่มนี้เป็น
พวกที่มีความชำนาญในการคล้องช้างและจับช้างอย่างยิ่ง
ในที่สุดก็สามารถติดตามช้างเผือกจนพบและนำกลับสู่
กรุงศรีอยุธยา

ความดีความชอบในครั้งนั้น ส่งผลให้หัวหน้าชาวกูย
ที่เป็นคณะติดตามช้างได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์

พร้อมกับโปรดฯ ยกบ้านให้เป็นเมืองและหนึ่งในบรรดาหัวหน้าชาวกูยก็คือ “เชียงปุม” ซึ่งได้
รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงสุรินทร์ภักดี” และต่อมา ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น
“พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์ จางวาง” ผู้เป็นเจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดสุรินทร์
 

จากอดีตสู่ปัจจุบันลูกหลานชาวกูยยังคงสืบทอดมรดกอันล้ำค่าจาก
บรรพบุรุษ นั่นคือ “การคล้องช้าง” และการเลี้ยงช้างเสมือนหนึ่งสมาชิก
ในครอบครัว ทำให้ชาวกูยแห่งเมืองสุรินทร์มีความผูกพันแนบแน่น
กับสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลกนามว่า “ช้าง” เป็นเวลาช้านาน

ปี ๒๔๙๘ ถือว่าเป็นปีแห่ง การชุมนุมช้างของชาวกูยอย่าง ไม่ได้ตั้งใจ
ก็ว่าได้ ซึ่งการชุมนุมช้างในครั้งนั้น เกิดจากข่าวที่ว่าจะมีเฮลิคอปเตอร์
มาลงที่บ้านตากลาง (เป็นหมู่บ้านของชาวกูย เลี้ยงช้าง ตั้งอยู่ที่ตำบล
กระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์) ชาวบ้านจึงชักชวนกันไปดู ในสมัยนั้นพาหนะที่ใช้กันโดยทั่วไปของชาวกูยก็คือช้างซึ่งถูกฝึกมา
เป็นอย่างดี แต่ละคนแต่ละครอบครัวก็พากันนั่งช้างมาดูเฮลิคอปเตอร์ พอไปถึงจุดที่เฮลิคอปเตอร์จอด ปรากฏว่าช้างที่ไปรวมกันนั้น
นับได้กว่า ๓๐๐ เชือก ทำเอาคนที่มากับเฮลิคอปเตอร์ตกใจและแปลกใจมากกว่า ชาวบ้านเสียอีก

งานช้าง, งานช้างสุรินทร์, ประวัติงานช้าง
พระยาสุรินทร์ภักดีฯ
งานช้าง, งานช้างสุรินทร์, ประวัติงานช้าง

 

งานช้าง, งานช้างสุรินทร์, ประวัติงานช้าง
การชุมนุมช้างที่บ้านตากลาง เมื่อปี ๒๔๙๘ ( ถ่ายภาพโดย นายพนัส ธรรมประทีป)

งานช้าง, งานช้างสุรินทร์, ประวัติงานช้างเหตุการณ์ชุมนุมช้างอย่างไม่ได้ตั้งใจในปี ๒๔๙๘ ทำให้ผู้คนที่ทราบข่าวต่างพากัน
สนใจกันเป็นจำนวน
มาก และในปี ๒๕๐๓ อำเภอท่าตูม ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านช้างได้มีการ
เฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ นายวินัย สุวรรณประกาศ ซึ่งเป็นนายอำเภอในขณะนั้นได้เชิญ
ชวนให้ชาวกูยเลี้ยงช้างทั้งหลาย ให้นำช้างของตนมาจัดแสดงให้ประชาชนได้ดูได้ชมกัน
เนื่องจากไม่สามารถจะไปคล้องช้างตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาได้อย่างเคย อันเนื่องมาจาก
ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ

การแสดงในครั้งนั้นด้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งนอกจากจะมีการแสดง
คล้องช้างให้ดูแล้ว ยังมีการเดินขบวนแห่ช้าง การแข่ง วิ่งช้าง และในกลางคืนก็ได้มีงานรื่นเริง
มีมหรสพต่างๆ ตลอดคืน ซึ่งใครจะคาดคิดว่าจากงานเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอเล็กๆ แห่งหนึ่ง
ในถิ่นทุรกันดารของภาคอืสานเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ จะกลายมาเป็นงานประเพณี
ของชาติที่โด่งดังไปทั่วโลก
งานช้าง, งานช้างสุรินทร์, ประวัติงานช้างนับต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน ประเพณีการแสดงของช้างได้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลา
ร่วม
๕๐ ปี แล้ว   ถ้าเป็นคนก็ถือว่าย่างเข้าสู่วัยชราก็ไม่ผิดเท่าใดนักสุรินทร์ จังหวัดที่เคย
เงียบเหงาในอดีต ได้ถูกชาวกวยและช้างสร้างให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างน่าภาค
ภูมิใจ วีรกรรมของชาวกูยปัจจุบันไม่ได้แตกต่างจากบรรพบุรุษเลยแม้แต่น้อย...

...สุรินทร์เมืองที่สร้างจากกวย (กูย) รวยเพราะช้าง...


กลับไปสารบัญงานช้างสุรินทร รูปแบบการแสดงช้างสุรินทร์ การเซ่นศาลปะกำช้าง กลับไปสารบัญหลัก (เมนู)

Guestbook

Created By:Jakrapong Juajun
775/11 Sukhaphibarn 4 Rd. Sikhoraphum Surin, Thailand. 32110
email: kradandum@kradandum.i-p.com
ICQ#42251791



Homepage: http://go.to/kradandum

งานช้าง, งานช้างสุรินทร์, ประวัติงานช้าง