พ่อผมเองครับ
พ่อผมเอง (ในวงกลมสีเหลือง ภาพนี้เกือบ ๔๐ ปีแล้ว)

จากคำบอกเล่าของชาวกูยที่นี่ บอกว่าจัด
มาไม่ต่ำกว่า ๒ ชั่วอายุคนแล้ว แต่ว่าไม่มี
การประชาสัมพันธ์ไปสู่ภายนอกมากนัก
อาจเป็นเพราะชาวกูยเป็นกลุ่มที่รักความ
สงบ และก็เห็นเป็นประเพณีธรรมดาๆ
bullet แต่ว่าถ้าใครได้มาเห็นแล้ว รับรอง
เลยว่าไม่ธรรมดาแน่ๆ งานช้างที่ว่า
ยิ่งใหญ่แล้ว มาเจองานนี้เข้าก็ต้อง
อึ้งไปเหมือนกัน เพราะงานช้างถือ
ว่าเป็นการแสดง แต่งานบวชนี้เป็น
ประเพณีที่เกิดก่อนงานช้างหลาย
สิบปี
 
bullet หลังจากมีผู้คนไปพบเห็นและมีการบอกเล่าต่อๆ กันมา ทำให้ประเพณีดัง
กล่าวถูกส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์
และในแต่ละปีก็จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศแวะเข้ามา
ร่วมขบวนแห่กันอย่างคึกคัก ทำให้ประเพณีบวชของชาวกูยเริ่มเป็นที่รู้จักกัน
มากขึ้น

ถ้าหากท่านแวะมาร่วมชมประเพณี
งานบวชแล้ว ท่านยังจะได้พบเห็น
สภาพความเป็นอยู่ของชาวกูยเลี้ยงช้าง
ซึ่งอาจจะแตกต่างกับการเลี้ยงช้างของ
ทางภาคเหนือ คือที่นี่จะเลี้ยงช้างไว้
ในอาณาบริเวณบ้าน คล้ายสัตว์เลี้ยง
โดยทั่วไป ทำให้มีความผูกพันและ
ยากที่คนอื่นจะเข้าใจ และหากได้พูด

สนุกสนานตามประเพณี
สนุกสนานตามประเพณี

คุยกับพวกเขาท่านก็จะเข้าใจมากขึ้นว่า ทำไมพวกเขาจึงต้องนำช้างไปเร่ร่อนตาม
เมืองใหญ่

 

bullet ทุกชายคาที่เลี้ยงช้างจะมีศาลปะกำ (เชือกที่ใช้คล้องช้าง ทำมาจากหนังควาย)
ที่ชาวกูยถือว่าเป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณบรรพบุรุษ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง
ที่พวกเขานับถือ

morning1.jpg (13643 bytes)
วิถีชีวิตยามเช้าของชาวกูย

san.jpg (11837 bytes)
ศาลปะกำ

bullet สำหรับการเดินทางมาที่หมู่บ้านช้าง จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันถือว่าสามารถเดิน
ทางมาได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสาร รถยนต์ส่วนตัว หรือแม้กระทั่ง
การเดินทางโดยเครื่องบินมาลงที่สนามบินสตึก แล้วบอกว่าไป "หมู่บ้านช้าง"
รับรองว่าไม่มีใครพาไปหลงแน่.
นอกจากงานประเพณีงานช้าง ประเพณีงานบวชของชาวกูยแล้ว หมู่บ้านช้างยังมีการ
จัดการแสดงของช้างเป็นประจำทุกวันหยุดสุดสัปดาห์อีกด้วย ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่ง
ที่จะทำให้ช้างและคนไม่ต้องออกไปเร่ร่อน
bullet อย่างไรก็ตาม การที่จะให้ชายกูยและช้างแห่งหมู่บ้านช้างสุรินทร์ มีชีวิตและ
ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น ทุกฝ่ายจะต้องเร่งหาทางช่วยเหลือ โดยเฉพาะคนใน
จังหวัดสุรินทร์เอง ที่ไม่ค่อยมองเห็นความสำคัญของปัญหานี้เท่าไรนัก

หากปัญหาต่างๆ ที่ชาวสุรินทร์เองก็รับทราบดีอยู่แล้วไม่ได้รับการแก้ไขจากคนใน
พื้นที่ ปัญหาช้างเข้าเมืองก็ยังคงมีอยู่ต่อไป ตราบใดที่ทุกชีวิตยังต้องดิ้นรนเพื่อความ
อยู่รอดของตัวเอง

...ไม่ว่าคนหรือสัตว์...


หน้า1

หน้า 2

หน้า 3

สารบัญ


"ไปดู...งานบวชที่หมู่บ้านช้างสุรินทร์"
ลงพิพม์ครั้งแรกในสโมสรศิลปวัฒนธรรมหนังสือ " ศิลปวัฒนธรรม"
ปีที่  ๑๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือน ตุลาคม ๒๕๓๗ ปรับปรุงเพิ่มเติม ๓ มีนาคม ๒๕๔๓
โดย.จักรพงษ์   เจือจันทร์
๗๗๕/๑๑ ถ.สุขาภิบาล ๔  ต.ระแงง
อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ๓๒๑๑๐